:

 ภาษาพีเอชพี (PHP Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภทโอเพนท์ซอร์ท (Open Source Computer Language) สำหรับพัฒนา Web page แบบ Dynamic เมื่อเครื่องบริการได้รับคำร้องจากผู้ใช้ก็จะส่งให้กับ ตัวแปล ภาษา ทำหน้าที่ประมวลผลและส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องของผู้ใช้ที่ร้องขอ ในรูป HTML ภาพ หรือแฟ้ม digital อื่นๆ ลักษณะของภาษามี คำสั่งมาจากภาษาซี ภาษาจาวา( java ) และ ภาษาเพิร์ล ( Perl )ซึ่ง ภาษา PHPนั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว PHP เป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลาย ๆ ตัว บนระบบปฏิบัติการ อย่างเช่น Windows 95/98/NT/2000/XP เป็นต้น


PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่าสคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปเช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถ สอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น ถ้าใครรู้จัก Server Side Include (SSI) ก็จะสามารถเข้าใจการทำงานของ PHP ได้ไม่ยาก สมมุติว่า เราต้องการจะแสดงวันเวลาปัจจุบันที่ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซด์ในขณะนั้น ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งภายในเอกสาร HTML ที่เราต้องการ อาจจะใช้คำสั่งในรูปแบบนี้ เช่น <!--#exec cgi="date.pl"--> ไว้ในเอกสาร HTML เมื่อ SSI ของ web server มาพบคำสั่งนี้ ก็จะกระทำคำสั่ง date.pl ซึ่งในกรณีนี้ เป็นสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา perl สำหรับอ่านเวลาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วใส่ค่าเวลาเป็นเอาท์พุท (output) และแทนที่คำสั่งดังกล่าว ลงในเอกสาร HTML โดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะส่งไปยังผู้อ่านอีกทีหนึ่ง อาจจะกล่าวได้ว่า PHP ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อแทนที่ SSI รูปแบบเดิมๆ โดยให้มีความสามารถ และมีส่วนเชื่อมต่อกับเครื่องมือชนิดอื่นมากขึ้น เช่น ติดต่อกับคลังข้อมูลหรือ database เป็นต้น
ตัวแปร ( variable )
การใช้งานตัวแปรในภาษา php

นำหน้าด้วย $ ชื่อตัวแปรต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร 
ห้ามเว้นช่องว่าระหว่างคำ
ตัวอักษรเล็ก และใหญ่ถือเป็นคนละตัวกัน (case sensitive)
ชื่อตั้งได้ 1 - 255 ตัวอักษร

ตัวอย่าง

$var


    ค่าคงที่
ค่าคงที่ในภาษา php

ประกาศค่าคงที่ใช้ define()

ตัวอย่าง

define("firstString", "Hello");

การใช้งานไม่ต้องใส่ $ นำหน้าเหมือน ตัวแปร เช่น

print(firstString);




    operator ( โอเปอเรเตอร์ ) โอเปอเรเตอร์ในภาษา php

Arithmetic Operators โอเปอเรเตอร์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เครื่องหมายความหมายตัวอย่าง
+บวก$result=$a+$b
-ลบ$result=$a-$b
*คูณ$result=$a*$b
/หาร$result=$a/$b
%หารเอาผลลัพธ์แค่เศษ  $result=$a%$b



Assignment Operators โอเปอเรเตอร์เกี่ยวกับการกำหนดค่า

เครื่องหมายความหมายตัวอย่าง
=ใส่ค่า$a=$b
+=บวกแล้วใส่ค่า$a+=$b มีค่าเท่ากับ $a=$a+$b
-=ลบแล้วใส่ค่า$a-=$b มีค่าเท่ากับ $a=$a-$b
*=คูณแล้วใส่ค่า$a*=$b มีค่าเท่ากับ $a=$a*$b
/=หารแล้วใส่ค่า $a/=$b มีค่าเท่ากับ $a=$a/$b


Comparison Operators โอเปอเรเตอร์เกี่ยวกับการเปรียบเทียบ

เครื่องหมายความหมายตัวอย่าง
==เท่ากับ$a==$b
!=ไม่เท่ากับ$a!=$b
<>ไม่เท่ากับ$a<>$b
>มากกว่า$a>$b
<น้อยกว่า $a<$b
>=มากกว่าหรือเท่ากับ $a>=$b
<=น้อยกว่าหรือเท่ากับ $a<=$b


Logical Operators โอเปอเรเตอร์เกี่ยวกับตรรกศาสตร์

เครื่องหมายความหมายตัวอย่าง
&&และ$a&&$b
||หรือ $a||$b
!นิเสธ!($a==$b)
andและ$a and $b
orหรือ $a or $b
xorExclusive or $a xor $b

Increment/decrement Operators โอเปอเรเตอร์เกี่ยวกับการเพิ่มและลดค่า

เครื่องหมายความหมายตัวอย่าง
++เพิ่มค่าขึ้น 1++$a , $a++
--ลดค่าลง 1--$a , $a--




    คำสั่งเงื่อนไข (Conditional Statements)
คำสั่งเงื่อนไขในภาษา php

คำสั่ง if

จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง
ตัวอย่าง
if($a>$b) { echo "ตัวแปร a มากกว่าตัวแปร b"; }



คำสั่ง if...else

ถ้าเป็นจริง จะทำงานในส่วนของ if 
ถ้าเป็นเท็จ จะทำงานส่วนของ else 
ตัวอย่าง
if($a>$b) { echo "ตัวแปร a มากกว่าตัวแปร b"; }
else { echo "ตัวแปร b มากกว่าตัวแปร a"; }



คำสั่ง if...elseif....else

เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการมี if else ซ้อนกันหลายๆตัว
ตัวอย่าง
if (เงื่อนไข)
{ ... }
elseif (เงื่อนไข)
{ ... }
else
{ ... }






    คำสั่งการวนลูป
การใช้คำสั่งการวนลูปในภาษา php

คำสั่งการวนลูปในภาษา php มีอยู่หลายแบบคือ

for
while
do...while
foreach

คำสั่ง for
รูปแบบคือ
for(ค่าเริ่มต้น ; เงื่อนไข ; การเพิ่มค่า) 
{ ... }

ตัวอย่าง
for($i=0; $i<=100 ; $i++)
{ echo "test"; }

คำสั่ง while
รูปแบบคือ
while( เงื่อนไข ) 
{ ... }

ตัวอย่าง
while( $i<=100 )
{ echo "test"; }

คำสั่ง do...while
รูปแบบคือ
do
{
...
}
while( เงื่อนไข ) 

ตัวอย่าง
do
{
echo "test";
}
while( $i<=100 )

คำสั่ง foreach
รูปแบบคือ
for(ตัวแปรarray as ตัวแปร) 
{ ... }

ตัวอย่าง
foreach($array as $i)
{ echo $i; }





    รูปแบบของ array

array ที่มี index เป็น ตัวเลข เรียกว่า numerical array ตัวอย่างเช่น

$a=array();
$a[0]="tokyo";
$a[1]="new york";
$a[2]="USA";

array ที่มี index เป็น ชื่อ เรียกว่า associative array ตัวอย่างเช่น

$a=array();
$a['city']="tokyo";
$a['country']="USA";





Refer: Link1